ตกขาวเรื่องธรรมดาที่ไม่ธรรมดา
ปากช่องคลอดของผู้หญิงจะบุผิวด้วยเซลล์ชนิดเยื่อเมือกเหมือนกับเซลล์เยื่อเมือกที่บุในช่องปากและจมูกที่เรียกว่า
mucous membrane
ซึ่งทำหน้าที่สร้างเยื่อเมือกและความชื้นให้กับช่องคลอด
ในบางช่วงตกขาวที่มีอยู่ตามปกติอาจมีจำนวนมากขึ้น มักเกิดในช่วงใกล้ๆ ตกไข่
โดยมีมูกปากมดลูกเพิ่มขึ้น จึงมีตกขาวเป็นน้ำใสๆ ออกมา หรือมีออกมาเป็นระยะใกล้ๆ
มีระดู ซึ่งมีเลือดมาหล่อเลี้ยงเพิ่มมากขึ้น
ที่สำคัญตกขาวที่มีอยู่ตามปกติจะไม่มีอาการผิดปกติอื่นๆ เช่น แสบ หรือคันช่องคลอด
และจะหารไปได้เองโดยไม่ต้องให้การรักษาใดๆ
ปริมาณตกขาวมากหรือน้อยจะขึ้นอยู่กับแต่ละคน
โดยทั่วไปตกขาวจะมีมากในช่วงวันที่ไข่ตกซึ่งอยู่ระหว่างวันที่ 14
ของรอบเดือนนอกจากนั้นขณะตั้งครรภ์ก็จะพบว่าตกขาวมากจนบางครั้งอาจจะเหนียวหนืด
การกระตุ้นทางเพศสัมพันธ์ก็จะมีการหลั่งน้ำออกมาหล่อลื่นมาก
หลังจากมีกิจกรรมทางเพศก็มีตกขาวเป็นปริมาณมาก
ปกติในช่องคลอดจะมีแบคทีเรียอยู่หลายชนิด
โดยไม่ก่อให้เกิดโรคหรือความผิดปกใดๆ ที่สำคัญได้แก่
แบคทีเรียที่มีชื่อเรียกว่าแลคโตบาซิลลัส (lactobacillus) ซึ่งจะเปลี่ยนสารไกลโคเจนจากเยื่อบุช่องคลอดเป็นกรดแลคติก ทำให้ pH
ในช่องคลอดต่ำกว่า 4.5 และความเป็นกรดในช่องคลอดนี้เองจะช่วยป้องกันไม่ให้แบคทีเรียอื่นเจริญเติบโต
ธรรมชาติสร้างให้ช่องคลอดมีฤทธิ์เป็นกรดเพื่อป้องกกันการติดเชื้อ
โดยจะเริ่มสร้างเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นจนกระทั่งวัยทอง
ดังนั้นผู้หญิงอาจจะรู้สึกชื้นๆ บริเวณอวัยวะเพศ
หากช่องคลอดแห้งจะทำให้เกิดการติดเชื้อที่ช่องคลอด และรู้สึกเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์
บางครั้งผู้ป่วยมีตกขาวเพิ่มขึ้น
ถือว่าไม่ใช่ตกขาวที่มีอยู่ตามปกติผู้ป่วยมักจะมีอาการคันหรือปวดแสบปวดร้อน
ตกขาวมีกลิ่นเหม็นที่สำคัญอาการจะไม่หายไปเอง สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการอักเสบติดเชื้อ
ลองลงมา ได้แก่ เนื้องอก
ซึ่งอาจเกิดจากเนื้องอกแล้วมักจะมีเลือดปนด้วย บางรายเกิดจากสิ่งแปลกปลอม เช่น
การใส่วัตถุหรือวัสดุต่างๆ
เข้าไปในช่องคลอด ผ้าอนามัยชนิดสอดช่องคลอดหรือถุงยางคุมกำเนิด เป็นต้น
เชื้อโรคที่ทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อ เกิดจากเชื้อราเป็นส่วนใหญ่ เป็นเชื้อราชื่อ Candida albicans
รองลงมาพบว่าเกิดจากพยาธิ
Trichomonas vaginalis
และเชื้อแบคทีเรียบางชนิด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อแบคทีเรียชนิดที่ไม่อาศัยออกซิเจนที่มีชื่อเรียกว่า Garnerella
vaginalis ดังนั้นการรักษาจึงขึ้นอยู่กับเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุ แพทย์จะทำการตรวจภายในและนำตกขาวมาตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ ซึ่งจะพบลักษณะเฉพาะของการติดเชื้อแต่ละชนิดหรือย้อมสีเพิ่มเติมเพื่อตรวจหาเชื้อก่อเหตุ
จากนั้นจึงพิจารณาใช้ยาฆ่าเชื้อโรคเพื่อบำบัดรักษาการอักเสบติดเชื้อ
ซึ่งยาที่ใช้มีได้หลายชนิดทั้งชนิดสอดช่องคลอด ชนิดกิน หรืออาจพิจารณาให้ยาทาภายนอกร่วมด้วยตามความเหมาะสม
สุขภาพอนามัยการขับถ่ายปัสสาวะไม่ควรละเลย
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
ยังเป็นโรคที่พบบ่อยมาก ติดอันดับ 1
ใน 5 ของประชาชน
ซึ่งส่วนใหญ่จะไปจบอยู่ที่คลินิกหรือร้านขายยา ไม่ค่อยได้มาโรงพยาบาล
เรามาเข้าใจมันและหาทางดูแลตนเองเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะอักเสบกันดีกว่า
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ(Cystitis)
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายหลายเท่า
เนื่องจากท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้นและอยู่ใกล้ทวารหนักซึ่งเป็นแหล่งที่มีเชื้อโรคมากเวลาล้างก้น
เชื้อโรคจากบริเวณดังกล่าวจึงเข้าทางท่อปัสสาวะของผู้หญิงได้ดีกว่าผู้ชายผู้หญิงแทบทุกคนมีโอกาสเป็นโรคนี้
ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุ พบมากในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วง 2-3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์หรือผู้หญิงที่ชอบอั้นปัสสาวะนานๆ
สาเหตุการเกิดโรค
ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่มแกรบลบ (ที่พบในลำไส้ของคนเรา)
เช่น อีโคไล (E.coli) เคล็บซิลลา (Klebsiella) ซูโดโมเนส (Pseudomonas) แอนโทแบกเตอร์ (Enterobacter) เป็นต้น ซึ่งเชื้อโรคเหล่านี้มีมากบริเวณทวารหนัก
แล้วปนเปื้อนผ่านท่อปัสสาวะเข้ามาในกระเพาะปัสสาวะ
และอาจพบเห็นโรคแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวาน นิ่วกระเพาะปัสสาวะ
ต่อมลูกหมากโตผู้ป่วยที่ถ่ายปัสสาวะไม่ได้เนื่องจากเป็นอัมพาตหรือพบภายหลังการสวนปัสสาวะ
ผู้หญิงที่แต่งงานใหม่หรือหลังร่วมเพศ
อาจมีอาการขัดเบาแบบกระเพาะปัสสาวะอักเสบ แพทย์เรียกว่า
โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบจากฮันนีมูน
สาเหตูเกิดจากการฟกช้ำจากการร่วมเพศแล้วทำให้อาการอักเสบของท่อปัสสาวะ
อาการ
ปัสสาวะกะปริดกะปรอย
รู้สึกปวดขัดหรือแสบร้อนเวลาถ่ายปัสสาวะ อาจมีอาการปวดที่ท้องน้อยร่วมด้วย
ปัสสาวะอาจมีกลิ่นเหม็น สีมักจะใส แต่บางรายอาจขุ่นหรือมีเลือดปน
บางคนเป็นเลือดสดๆ ออกมา อาการอาจเกิดขึ้นหลังอั้นปัสสาวะนานๆ หรือหลังร่วมเพศ
ในเด็กเล็กอาจมีอาการปัสสาวะรดที่นอน อาจมีไข้ เบื่ออาหาร และอาเจียน
สิ่งตรวจพบ
มักตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติชัดเจน
บางรายอาจมีอาการกดเจ็บเล็กน้อยตรงกลางท้องน้อย
อาการแทรกซ้อน
ส่วนมากมักจะไม่มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง แต่บางรายอาจเป็นๆ หายๆ เรื้อรัง
ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษา เชื้อโรคอาจลุกลามขึ้นไปที่ไต
ทำให้อาจเป็นกรวยไตอักเสบได้
การรักษา
1.ขณะที่มีอาการ ให้ดื่มน้ำมาก ถ้าปวดมากให้ยาแก้ปวดและให้ยาปฏิชีวนะ เช่น
โคไตรม็อกซาโซล 2 เม็ด วันละ 2 ครั้ง
อะม็อกซีซิลลิน 500 มิลลิกรัม ทุก 8
ชั่วโมง หรือนอร์ฟล็อกซาซิน 400 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง นาน 3 วัน
2.ถ้าไม่ดีขึ้นหรือเป็นซ้ำมากกว่า 2-3 ครั้ง ควรส่งโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาสาเหตุโดยการตรวจปัสสาวะนำปัสสาวะนำไปเพาะหาเชื้อ
เอกซเรย์และถ้าจำเป็นอาจต้องใช้กล้องส่องตรวจกระเพาะปัสสาวะ (Cystoscope) แล้วให้การรักษาตามสาเหตุที่พบ
ข้อแนะนำ
1.กระเพาะปัสสาวะอักเสบ พบเป็นสาเหตุแรกๆ ของการขัดเบา แต่อย่างไรก็ตาม
ยังมีโรคอีกหลายชนิดที่อาจมีอาการแสดงคล้ายโรคนี้ได้อีก
ดังนั้นก่อนให้การรักษาโรคนี้ ควรซักถามประวัติอาการอย่างถี่ถ้วน
2.ในเด็กเล็กที่มีอาการปัสสาวะรดที่นอนบ่อย
หรือมีไข้และอาเจียนโดยไม่ทราบสาเหตุ ควรนึกถึงเรื่องนี้ไวเสมอ การตรวจปัสสาวะจะช่วยให้วินิจฉัยโรคได้แน่ชัด
3.
ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ ควรดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยขับเชื้อโรค ออก
และช่วยลดอาการปวดแสบปวดร้อนเวลาปัสสาวะ
4.
การป้องกัน ผู้ที่เคยเป็นโรคนี้ เมื่อรักษาหายแล้วควรป้องกันมิให้เป็นโดย
- พยายามดื่มน้ำมากๆ
และอย่าอั้นปัสสาวะ ควรฝึกถ่าย
ปัสสาวะในห้องน้ำนอกบ้านหรือระหว่างเดินทางได้ทุกที่
การอั้นปัสสาวะทำให้เชื่อโรคอยู่ในกระเพาะปัสสาวะได้นานจนสามารถเจริญพันธุ์ประกอบกับในภาวะที่กระเพาะปัสสาวะยืดตัว
ความสามารถในการขจัดเชื้อโรคของเยื่อบุผิวกระเพาะปัสสาวะลดน้อยลง
จึงทำให้เกิดการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะได้ง่ายขึ้น
- หลังถ่ายอุจจาระ
ควรใช้กระดาษชำระเช็ดทำความสะอาด จากข้างหน้าไปข้างหลัง
เพื่อป้องกันมิให้เชื้อโรคจากบริเวณทวารหนักเข้าสู่ท่อปัสสาวะ
- สำหรับอาการขัดเบาหลังร่วมเพศ(
โรคกระเพาะปัสสาวะจากฮันนีมูน) อาจป้องกันได้โดยดื่มน้ำ 1 แก้ว ก่อนร่วมเพศ
ควรใส่ครีมหล่อลื่นช่องคลอดและถ่ายปัสสาวะทันทีหลังร่วมเพ
ดื่มน้ำส้มและโยเกิร์ตเป็นประจำป้องกันโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
การวิจัยใหม่ตีพิมพ์ลงใน American
Journal of Clinical Nutrition เมื่อไม่นานมานี้ ค้นพบว่า
ผู้หญิงที่ดื่มนมและโยเกิร์ตบ่อยและน้ำผลไม้อย่างน้อย 1
แก้ว/วัน มีโอกาสเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบน้อยกว่าคนอื่นถึง 34% โดยเฉพาะน้ำจากลูกเบอร์รี
เช่นเดียวกัน
ถ้าได้ดื่มโยเกิร์ตหรือนมเปรี้ยว หรือแม้กระทั่งกินชีสอย่างน้อย 3 ครั้ง/ สัปดาห์ มีโอกาสเกิดกระเพาะอักเสบลดลงถึงเกือบ
80%นี่เป็นเหตุผลหนึ่งว่า
ทำไมคนหนึ่งเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ คนอื่นถึงไม่เป็น กรค้นพบครั้งนี้
สำคัญที่จะบอกเราว่า การปรับอาหารเป็นส่วนสำคัญในการป้องกันกระพะปัสสาวะอักเสบ
การวิจัยนี้
ทำการวิจัยในหญิง 139 คนที่เคยมีกระเพาะปัสสาวะอักเสบ 185
คนที่ไม่เคยเป็น ในระละ 5 ปีที่ผ่านมา อายุเฉลี่ย คือ 30 ปี การกินอาหารที่มียีสต์ เช่น โยเกิร์ต เราเรียกว่า Probiotic
bacteria เราอาจเคยเห็นคนในยุโรป ซื้อแคปซูลที่มียีสต์ที่เป็นประโยชน์มากิน
เชื่อว่ามันทำให้แบคทีเรียที่เป็นประโยชน์เพิ่มขึ้นและลดแบคทีเรียตัวร้ายลงในทางเดินอาหารและอุจจาระ
จึงทำให้อัดตราการกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบลดลงด้วย
ส่วนการที่น้ำผลไม้บางชนิด เช่น
แครนเบอร์รีช่วยลดอัตราการเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบนั้น นักวิจัยเชื่อว่า
เนื่องจากมันมีสารแอนติออกซิแดนต์ (antioxidants) ที่คอยทำลายเชื้อแบคทีเรีย
ดังนั้นคำแนะนำในผู้ที่เป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ นอกจากให้
เลิกกลั้นปัสสาวะนานๆ ทำความสะอาดให้ดี ยังแนะนำให้กินน้ำผลไม้และโยเกิร์ตเป็นประจำด้วย
ส่วนการที่น้ำผลไม้บางชนิด เช่น
แคลนเบอร์รี่ช่วยลดอัตราการเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบนั้น นักวิจัยเชื่อว่า
เนื่องจามันมีสารแอนติออกซิแดนต์ (antioxidants) ที่คอยทำลายเชื้อแบคทีเรีย
ดังนั้นคำแนะนำผู้ที่เป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
นอกจากให้เลิกกลั้นปัสสาวะนานๆ ทำความสะอาดให้ดี
ยังแนะนำให้กินน้ำผลไม้และโยเกริร์ตเป็นประจำด้วย
ไม่นาเชื่อว่า
แม้คนเราจะขับถ่ายปัสสาวะกันเป็นมาตั้งแต่แรกเกิด แต่หลายคนไม่ทราบวิธีที่ดีทำให้ระบบขับถ่ายปัสสาวะเป็นปกติ
วันนี้จะขอเสนอ 14 อุปนิสัยที่ดีในการขับถ่ายปัสสาวะ
เพื่อป้องกันโรคต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับกระเพาะปัสสาวะของเรา
14
วิธีขับถ่ายปัสสาวะเพื่อสุขภาพที่ดี
1.อย่ากลั้นปัสสาวะ เมื่อรู้สึกปวดท้องต้องไปปัสสาวะ
2.เวลาปัสสาวะไม่ควรรีบร้อนเบ่งมาก เพราะอาจทำให้หูรูดปัสสาวะชำรุดได้
3.ควรขับถ่ายปัสสาวะให้เหลือน้อยที่สุดในหนึ่งครั้ง นั่นคือ
เมื่อรู้สึกถ่ายหมดแล้วให้เบ่งต่ออีกนิดหน่อย ปัสสาวะที่เหลือจะไหลออกมา
4.ไม่ควรบังคับให้ตนเองถ่ายปัสสาวะบ่อยเพราะจะติดเป็นนิสัย
เวลาที่เหมาะสมคือ 2-4 ชั่วโมง
ควรขับถ่ายปัสสาวะหนึ่งครั้ง
5.ให้สังเกตการณ์ถ่ายปัสสาวะและน้ำปัสสาวะของตนเองทุกครั้ง
ต้องเบ่งมากผิดปกติหรือไม่
น้ำปัสสาวะลำน้ำพุ่งดีหรือไม่ลำน้ำปัสสาวะมีขนาดเล็กลงกว่าเดิมหรือไม่
น้ำปัสสาวะมีสีเหลือใสหรือไม่ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นอาการผิดปกติที่สามารถบอกโรคได้
6.ควรล้างทำความสะอาดหลังปัสสาวะ แต่อย่าให้บริเวณนั้นเปียกชื้น
เพราะอาจเกิดเชื้อราได้ ทางที่ดีหลังปัสสาวะทุกครั้ง ควรซับให้แห้ง
7.เมื่อปัสสาวะไม่ออกต้องหาสาเหตุโดยการไปพบแพทย์อย่าซื้ออย่าขับปัสสาวะกินเองเพราะจะเกิดอันตรายได้
8.เมื่อเข้าสู่วัยกลางคน
การบริหารอุ้งเชิงกรานโดยการขมิบวันละ 100 ครั้ง จะช่วยป้องกันอาการปัสสาวะเล็ด
9.ดื่มน้ำสะอาด อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้วหรือหนึ่งลิตรจะช่วยให้น้ำปัสสาวะใส
มีจำนวนพอดีและป้องกันภาวะปัสสาวะอักเสบ
10.ก่อนและหลังมีเพศสัมพันธ์ คุณผู้หญิงควรถ่ายปัสสาวะทิ้ง
จะช่วยป้องกันเกิดกระเพาะอักเสบ
11.น้ำปัสสาวะต้องเป็นน้ำเท่านั้น
ถ้ามีมูก หนอง น้ำเหลือง เลือดปนออกมา ถือว่าผิดปกติต้องไปพบแพทย์
12.การขับถ่ายปัสสาวะ ต้องขับถ่ายคล่องไม่มาการเจ็บปวดถ้าปัสสาวะแสบขัดบากนับว่าเป็นอาการผิดปกติ
ต้องไปพบแพทย์อีเช่นกัน
13.คนเราทุกคนต้องปัสสาวะทุกวัน
วันละ 4-6 ครั้ง
ถ้าไม่ปัสสาวะเลยทั้งวัน ถือว่าตกอยู่ในภาวะอันตราย ต้องไปพบแพทย์โดยด่วน
14.ก่อนเดินทางไกล ก่อนยกของหนัก ควรปัสสาวะทิ้งก่อนทุกครั้ง
โรคภัยใกล้ตัวหญิง
โดย คุณ ฐาปนี กรุงเทพ : ไพลิน, 2548 128 หน้า
จัดพิมพ์ที่ บริษัท ไพลินบุ๊คเน็ต
จำกัด 834/ ถนนลาดพร้าว 101 แขวงคลองจั่น
เขตบางกระปิ กรุงเทพ 10240
โทร 0-2731-0621